การขอออกโฉนดที่ดิน - เมืองในเมือง รวมเรื่องจัดการที่ดินเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ด้วยความสุขกายสุขใจ

"เมืองในเมือง" รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ดิน
การเกษตร สุขภาพ และบ้านวัยเกษียณ
Go to content

Main menu:

ข้อควรรู้เรื่องที่ดิน > นิติกรรมที่ดิน


การขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย

หลักฐานประกอบการขอออกโฉนดที่ดิน

- บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)
- ใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน
- ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ หรือตราจอง
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก.,น.ส.3 ข) หรือใบสำคัญแสดงการนำที่ดินขึ้นทะเบียน (แบบหมายเลข 3)
- ใบไต่สวนหรือใบนำ
- หนังสือแสดงการทำประโยชน์ ในกรณีที่ได้รับการจัดที่ดินในนิคมสร้างตนเองหรือสหกรณ์นิคม (น.ค.3 หรือ กสน.5)
- หลักฐานการเสียภาษีที่ดิน หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง

 
ลักฐานประกอบการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์

- บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)
- ใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน
- ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ หรือตราจอง
- หนังสือแสดงการทำประโยชน์ ในกรณีที่ได้รับการจัดที่ดินในนิคมสร้างตนเองหรือสหกรณ์นิคม (น.ค.3 หรือ กสน.5)
- หลักฐานการเสียภาษีที่ดินหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง


ขั้นตอนการออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย


1. รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์
2. ชี้ระวางแผนที่
3. รับคำขอ สอบสวน ชำระเงินค่าธรรมเนียม
4. ฝ่ายรังวัดดำเนินการ นัดทำการรังวัด กำหนดตัวช่างรังวัด
5. ค้นหารายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง และพิมพ์หมายข้างเคียง
6. รับหมายแจ้งเจ้าของที่ดินข้างเคียง วางเงินมัดจำรังวัดรับหลักเขตที่ดิน
7. ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัด พิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ที่ดิน
8. คำนวณเนื้อที่ และเขียนรูปแผนที่โฉนดที่ดิน
9. เจ้าพนักงานที่ดินประกาศการแจกโฉนดที่ดิน 30 วัน
10. ประกาศแจกที่ดินให้ปิดในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่และในบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับ
11. เสนอเรื่องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีขอออกโฉนดที่ดินโดยมิได้แจ้งการครอบครอง
หรือกรณีเนื้อที่เกิน 50 ไร่ ตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
12. ส่งเรื่องให้คณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 ตรวจสอบกรณีที่ดินอยู่ในเขตป่าไม้

13. ประสานงานกับ ส.ป.ก.หรือผู้ปกครองนิคมฯ กรณีที่ดินอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินฯ นิคมสร้างตนเอง หรือสหกรณ์นิคม
14. เสนอเจ้าพนักงานที่ดินลงนามออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ขอและแจ้งเจ้าของที่ดินมารับโฉนดที่ดิน
15. แจกโฉนดที่ดินให้ผู้ขอ

ขั้นตอนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก., น.ส.3 ข)


1. เจ้าของที่ดินนำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไปยื่นคำขอรังวัดออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
2. ชี้ตำแหน่งในระวางรูปถ่ายทางอากาศ ( ร.ว.10 ก ) พร้อมลงนามรับรอง
3. ให้ถ้อยคำในการนัดรังวัด เพื่อ
 - กำหนดวันทำการพิสูจน์
 
- กำหนดเงินค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม
 
- กำหนดสถานที่นัดพบ
4. รับเจ้าหน้าที่ไปทำการพิสูจน์ตรวจสอบและปักหลัก จนเสร็จการ
5. ลงนามในเอกสารต่าง ๆ
6. รอรับหนังสือแจ้งให้ไปรับประกาศไปปิดประกาศ และนำหางประกาศมาคืนเจ้าหน้าที่
7. รอรับหนังสือแจ้งให้ไปรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์


ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย


ค่าธรรมเนียม

  • ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท

  • ค่าประกาศแปลงละ 10 บาท

  • ค่าธรรมเนียมรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินแปลงละ 40 บาท

  • ค่าธรรมเนียมการพิสูจน์สอบสวนเกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แปลงละ 30 บาท

  • ค่าหลักเขตที่ดิน หลักละ 15 บาท


ค่าธรรมเนียมออกโฉนดที่ดิน

  • ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 50 บาท

  • ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกินไร่ แปลงละ 2 บาท เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่


ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์

  • ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 30 บาท

  • ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกินไร่ แปลงละ 2 บาท เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่



ค่าใช้จ่าย


  • ค่าพาหนะเดินทางให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่และคนงาน ให้จ่ายเท่าที่จำเป็น และใช้จ่ายไปจริง

  • ค่าเบี้ยเลี้ยง ให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่และค่าจ้างคนงาน ให้จ่ายเท่าที่จำเป็นตามระเบียบของทางราชการ เท่าอัตราของทางราชการค่าป่วยการให้แก่พนักงานผู้ปกครองท้องที่หรือผู้แทนที่ไปในการรังวัดคนหนึ่งวันละ 50 บาทค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท






 

ที่มา : กรมที่ดิน http://www.dol.go.th/

บริษัท แลนด์ อิน แลนด์ จำกัด
Line ID: @landinland
"เมืองในเมือง" รวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำประโยชน์บนที่ดิน ภาษีที่ดิน และการแปรรูปหลังเก็บเกี่ยว
การเกษตร สุขภาพ และบ้านวัยเกษียณ
Back to content | Back to main menu